บริษัท ไลท์อัพ โทเทิล โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีความรับผิดชอบ
ต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องกรต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่า
จะเป็นตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงิน รวมถึงการให้และการรับสินบน ตลอดจนให้ความสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากร
ทุกคนตระหนักถึงพิษภัยของการทุจริตคอร์รัปชัน จึงได้กำหนดนโยบายต่อต้นการทุจริตคอร์รัปชันขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการ
ปฏิบัติของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานและเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
วัตถุประสงค์
เพื่อให้การตัดสินใจและการดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านทุจริตคอร์ปชันได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบ
ขอบเขตการบังคับใช้
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันฉบับนี้ให้ใช้กับกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตัวแทนที่ทำหน้าที่ในนามของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจควบคุม ทั้งที่มีการประกอบธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ
คำนิยาม
“การทุจิตร”
หมายถึง การกระทำโดยเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมหรือมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่น (เช่น ครอบครัวเครือญาติ เพื่อน หรือคนรู้จัก) การทุจริตอาจแบ่งได้ 3 ประเภท คือ การคอร์รัปชัน การยักยอกทรัพย์ และการ ตกแต่งตัวเลขในรายงานทางการเงิน
“การยักยอกทรัพย์”
หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตามเพื่อให้ได้ครอบครองทรัพย์สินของบริษัท โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อ ประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นซึ่งทำให้บริษัท สูญเสียทรัพย์สิน โอกาส หรือผลประโยชน์อื่นใดที่เป็นเงินสดและทรัพย์สินที่ ไม่ใช่เงินสด
“การตกแต่งตัวเลขในรายงานทางการเงิน”
หมายถึง การกระทำโดยเจตนาบิดเบือนรายงานทางการเงิน เช่น งบการเงินและบันทึก ทางการเงิน หรือร้ายงานที่มิใช่รายงานทางการเงิน เพื่อปกปิดการยักยอกทรัพย์สินหรือการกระทำอันเป็นการยักยอกทรัพย์สิน เพื่อผลประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งส่งผลให้มีการบิดเบือนรายละเอียดในรายงานและบันทึกดังกล่าว
“การคอร์รัปชัน”
หมายถึง การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่ง หน้าที่โดยมิชอบ ฝ่าฝืนกฎหมาย จริยธรรม ระเบียบ นโยบาย หรือกฎบัตรและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท เพื่อ การแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้ไม่ว่าในรูปแบบใด เช่น การให้หรือ รับสินบน การนำเสนอ การให้คำมั่นว่าจะให้ การขอ หรือเรียกร้องซึ่ง เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันไม่เหมาะสม เป็นการขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม กฎหมาย กฎระเบียบ นโยบาย กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน หรือบุคคลอื่นใดที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวกระทำหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ได้มา เอื้อประโยชน์ หรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจหรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ ทั้งต่อองค์กร ตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการให้และจัดหาข้อมูลอันเป็นความลับ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นหรือจารีตทางการค้าให้กระทำได้ และให้หมายรวมถึงการทุจริตในลักษณะอื่น ๆ เช่น การยักยอกทรัพย์ และการตกแต่งรายงานทางการเงิน
“การให้หรือรับสินบน”
หมายถึง การเสนอ การให้คำมั่นสัญญา การให้ การรับ หรือการเรียกร้อง ผลประโยชน์โดยการให้สินบนอาจแฝงอยู่ในรูปแบบของการบริจาคเพื่อการกุศล การให้หรือรับเงินสนับสนุน การให้หรือ รับของขวัญ ค่ารับรองต้อนรับ การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก
“การช่วยเหลือทางการเมือง”
หมายถึง การให้การสนับสนุนทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในนามของบริษัท รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในนามของบริษัท เพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง นักการเมือง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิพิเศษ หรือผลประโยชน์อันมิควรได้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการที่พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองตามหลักสิทธิเสรีภาพ
“การบริจาคเพื่อการกุศล”
หมายถึง การบริจาคเงินหรือสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด ให้ภาครัฐ ลูกค้า คู่ค้า นิติบุดคล หรือบุดคลใดๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิพิเศษ หรือผลประโยชน์อันมิควรได้ เว้นแต่ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ให้สังคมโดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน หรือผลประโยชน์จากองค์กรที่เข้าไปให้การสนับสนุน เช่น การบริจาคเงินให้แก่สมาคมมูลนิธิ องค์กรสาธารณะ วัด โรงพยาบาล สถานศึกษา หรือองค์กรที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม เป็นต้น
“การให้หรือรับเงินสนับสนุน”
หมายถึง เงินที่จ่ายให้หรือได้รับจากภาครัฐ ลูกค้า คู่ค้า นิติบุคคล หรือบุคคลใด ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิพิเศษ หรือผลประโยชน์อันมิควรได้ เว้นแต่การจ่ายเงินสนับสนุนเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือเพื่อส่งเสริมตราสินค้า หรือชื่อเสียงของบริษัท อันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความน่าเชื่อถือทางการค้า หรือการช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสมแก่โอกาส
“ค่ารับรองต้อนรับ”
หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มีมูลค่าทางการเงิน ซึ่งจ่ายเพื่อเป็นค่าสิ่งของใด ๆ รวมถึงสิ่งที่ใช้แทนเงินสดและสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าสูงเกินควรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิพิเศษหรือผลประโยชน์อันมิควรได้
“การจ่ายค่าอำนวยสะดวก”
หมายถึง การให้เงินสด สิ่งของ หรือสิ่งอื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ หรือเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการตำเนินการให้แก่บริษัท